วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กลิ่นตัว

โรคและอาการ



        เดิมทีธรรมชาติสร้างให้ร่างกายเรามีกลิ่นฉุนไว้ดึงดูดเพศตรงข้าม แต่ปัจจุบัน คนที่กลิ่นกายรุนแรงอาจเป็นที่รังเกียจ ต้นตอของกลิ่นกายมาจากเหงื่อบางชนิด ต่อมเอคครีน (Eccrine) จะหลั่งเหงื่อใสที่ไร้กลิ่นออกมา เมื่อเหงื่อนี้ระเหยจะทำให้รู้สึกเย็น ส่วนต่อมอะโปครีน (Apocrine) ซึ่งมีมากบริเวณรักแร้และอวัยเพศ จะหลั่งสารที่มักเป็นแหล่งอาศัยของแบคทีเรีย ทำให้เกิดกลิ่นฉุน สาเหตุที่ต่อมอะโปครีนทำงานมากผิดปกติมีตั้งแต่ความเครียด ภาวะไข่ตก ความต้องการทางเพศ ความโกรธ และโรคภัย ยาบางชนิด เช่น เวนลาแฟ็กซีน (venlafaxine) แก้ซึมเศร้า และบูโพรเพียน (bupropion) ที่หมดมักสั่งให้ผู้กำลังเลิกบุหรี่ ก็ทำให้เกิดกลิ่นตัว


ใช้สบู่ระงับกลิ่นกาย

o   ใช้สบู่ระงับกลิ่นกายหรือสบู่ที่มีส่วนผสมของน้ำมันทีทรี (tea tree oil) หรือสบู่ล้างมือขจัดแบคทีเรียก็ได้ สบู่ประเภทนี้จะทิ้งสารขจัดแบคทีเรียไว้บนผิวหนังแม้คุณจะล้างสบู่ออกไปแล้ว ถ้าลองใช้แล้วผิวหนังไม่ระคายเคือง ก็สามารถใช้ได้เป็นประจำทุกวัน แต่บางคนอาจรู้สึกว่าใช้แล้วผิวแห้ง กรณีนี้ก็ให้ฟอกสบู่เฉพาะใต้วงแขนและบริเวณขาหนีบ ซึ่งเป็นบริเวณที่มักก่อให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์

o   ถ้าใช้สบู่ระงับกลิ่นกายแล้วยังไม่ได้ผล มีอีกวิธีที่ได้ผลชะงัดกว่าคือ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียก่อนผ่าตัด เช่น ไฮบิสครับ (Hibiscrub) หรือเบตาดีน (Betadine) ซึ่งมีขายตามร้านขายยาทั่วไป ยาเหล่านี้กำจัดแบคทีเรียได้ชะงัด แพทย์จึงใช้ทำความสะอาดผิวหนังคนไข้ก่อนผ่าตัด แต่มักทำให้ผิวแห้งมาก จึงควรใช้เฉพาะตอนอาบน้ำ เพื่อจะได้ล้างออกได้ทันที และใช้เฉพาะบริเวณที่เกิดกลิ่น เช่น ใต้วงแขนและบริเวณขาหนีบเท่านั้น วิธีใช้คือบีบน้ำยาเล็กน้อย ล้างบริเวณที่มีกลิ่น จากนั้นล้างออกทันทีและฟอกด้วยสบู่ธรรมดาอีกครั้ง

นอกเหนือจากสารระงับกลิ่นกาย

o   ในระหว่างวัน ใช้ก้อนสำลีแต้มน้ำส้มสายชู นำมาเช็ดบริเวณใต้วงแขน เพื่อลดปริมาณแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่น แต่ไม่ควรใช้หลังจากโกนขนเสร็จใหม่ๆ เพราะจะแสบมาก

o   ใช้สารสร้มทาใต้วงแขน สารส้มมีคุณสมบัติระงับกลิ่นได้นานถึง 10 ชั่วโมง และสามารถทาหลังโกนขนใหม่ๆ ได้โดยไม่ระคายเคือง

o   ใช้สำลีก้อนจุ่มในวิตช์เฮเซล (witch hazel) แล้วนำมาถูใต้วงแขน หรือแต้มวิตช์เฮเซลลงบนผิวหนังโดยตรงเลยก็ได้ วิธีนี้ใช้ได้บ่อยเทาที่ต้องการ วิตช์เฮเซลจะทำให้รู้สึกเย็นสดชื่น กลิ่นสะอาด นอกจากทำให้ใต้วงแขนแห้งดีแล้วยังช่วยระงับกลิ่นด้วย

o   ทาเบคกิ่งโซดาหรือแป้งข้าวโพดบริเวณที่มีกลิ่น แป้งทั้งสองชนิดนี้ดูดซับความชื้นได้ดี เบคกิ้งโซดายังช่วยฆ่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นด้วย

o   โกนขนเป็นประจำ เนื่องจากขนรักแร้จะยิ่งทำให้กลิ่นกายรุนแรงขึ้น เพราะจะกักเหงื่อและแบคทีเรียไว้

o   เปลี่ยนเสื้อทุกวัน อย่าใส่เสื้อผ้าซ้ำโดยไม่ได้ซัก ถ้าอากาศร้อนคุณอาจต้องเปลี่ยนเสื้อระหว่างวัน

สมุนไพรช่วยได้

ตำรับยาต่อไปนี้สามารถใช้ทาใต้วงแขนได้ แต่ไม่ควรใช้กับบริเวณขาหนีบ

o   น้ำมันทีทรี นอกจากมีกลิ่นหอมแล้ว ยังสามารถใช้ทาผิวหนังเพื่อกำจัดแบคทีเรีย แต่ถ้ารู้สึกระคายเคืองต้องหยุดใช้ทันที

o   น้ำมันสกัดจากดอกลาเวนเดอร์ ลูกสน และเป็ปเปอร์มิ้นต์ ช่วยขจัดแบคทีเรียได้เช่นกัน แต่ผิวหนังของบางคนอาจระคายเคือง จึงควรลองทดสอบดก่อนใช้

o   เสจ (sage) เป็นสมุนไพรกลิ่นหอม มีคุณสมบัติฆ่าแบคทีเรียและลดเหงื่อ มีขายในรูปทิงเจอร์หรือน้ำมันหอมตามร้านผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ หลังจากทาเสจแล้วควรล้างมือก่อนสัมผัสใบหน้า

o   ใช้น้ำมะนาวทาผิวหนังบริเวณที่ก่อให้เกิดกลิ่นแล้วรอให้แห้งก่อนสวมเสื้อผ้า ผลไม้รสเปรี้ยวอย่างมะนาวสามารถเปลี่ยนสภาพความเป็นกรดด่างของผิวหนังของคุณ ทำให้ผิวหนังเป็นกรดมากขึ้น และขัดขวางการเติบโตของแบคทีเรีย

กินผักเพื่อกลิ่นสะอาด

o   กินพืชผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผักคะน้า เพราะอุดมด้วยสารคลอโรฟิลที่มีคุณสมบัติระงับกลิ่นกาย

o   ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคลอโรฟิลชนิดเม้ด ส่วนใหญ่จะสกัดจากพืช เช่น สาหร่ายทะเล (เคลป์) ใบข้าวบาร์เลย์ หรือสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน คุณสามารถซื้อมากินได้โดยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด

o   กินผักชีสดๆ ผักชีมีคุณสมบัติระงับกลิ่น อีกวีคือทำชาผักชี โดยนำผักชีสดมาสับให้ละเอียด แช่ในน้ำเดือด 1 ถ้วย 5 นาที รอให้เย็นแล้วจึงดื่ม

o   ชาไลม์ (lime tree tea) จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายขจัดของเสียออกมามากขึ้น ทำให้เหงื่อของคุณมีกลิ่นดีขึ้น ชานี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าชาลินเดน (linden tea) ทำจากดอกของต้นไลม์ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ คล้ายชามะลิ

เมื่อใดควรพบแพทย์

        คนที่มีเหงื่อออกง่ายหรือเหงื่อออกมากอาจะเป็นเพราะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน มีน้ำตาลในเลือดน้อย หรืออาจเป็นปัญหาของระบบประสาทซึ่งควบคุมเหงื่อ ถ้าคิดว่าเหงื่อออกมากผิดปกติ หรือกลิ่นตัวของคุณเกิดจากความผิดปกติของร่างกายควรไปพบแพทย์ ผู้ที่ต้องใช้ยางบางชนิดที่อาจทำให้เกิดกลิ่นกาย ให้ปรึกษาแพทย์ว่าจะเปลี่ยนยาได้หรือไม่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น