วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

        ปัจจุบันมีิผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลากหลายวางขาย ทั้งในร้านขายยา ร้านผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และตามห้างสรรพสินค้า ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากประเทศต่างๆ บางชนิดก็ดูเหมือนเป็นยา บางชนิดก็ดูเป็นอาหาร ที่สำคัญมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวนไม่น้อยที่ดูเหมือนจะโฆษณาเกินจริง ที่เป็นเช่นนี้เพราะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารส่วนใหญ่ถูกจัดให้เป็นอาหาร ดังนั้นจึงไม่ต้องผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มงวดเหมือนผลิตภัณฑ์ยา แต่ผู้ผลิตก็ไม่ได้รับอนุญาตให้โฆษณาสรรพคุณทางยาของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นๆ ด้วย

        แต่แม้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นๆ จะได้รับการพิสูจน์แ้ล้วว่ามีประสิทธิภาพจริง และสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย แต่ก็ไม่อาจการันตีได้ว่าในผลิตภัณฑ์นั้นจะมีสารออกฤทธิ์สำคัญในปริมาณที่เหมาะสม ดังนั้นในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคุณอาจใช้หลักการต่อไปนี้

  • ซื้อยี่ห้อที่มีชื่อเสียงน่าเชื่อถือ มีหลายกรณีที่ผู้ผลิตจงใจปิดบังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสินค้าของตน เช่น ในผลิตภัณฑ์นั้นไม่มีสารออกฤทธิ์สำคัญอยู่เลยหรือมีน้อยมาก การซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตรายใหญ่อย่างน้อยก็เชื่อได้ว่าบริษัทเหล่าี้นี้มีชื่อเสียงต้องให้รักษา และต้องมีมาตรฐานระดับหนึ่ง

  • ซื้อสารสกัดมาตรฐาน เมื่อซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นสมุนไพร ควรเลือกชนิดที่เป็นสารสกัดมาตรฐาน ซึ่งมักมีคำว่า "standardized" กำกับเป็นการแสดงว่าในผลิตภัณฑ์นั้นมีสารออกฤทธิ์ในปริมาณที่กำหนด

  • กินในปริมาณที่ถูกต้อง เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร คุณจะต้องอ่านคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัดและอย่ากินเกินขนาดที่แนะนำ หลักการเดียวกันนี้ต้องใช้กับการกินยาด้วยเช่นกัน

  • เครื่องหมาย อย. และคำเตือน ผลิตภัณฑ์ีที่ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการอาหารและยาจะมีเครื่องหมาย อย. กำกับอยู่ ซึ่งเป็นการรับรองว่ามีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง และหากเกิดปัญหาใดๆ ขึ้นคุณก็สามารถหาตัวผู้รับผิดชอบได้ นอกจากนี้บนฉลากผลิตภัณฑ์ที่เืชื่อถือได้ควรมีคำเตือนตามที่ อย. กำหนดไว้ คือ "เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน" ถ้าเ็ป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาควรมีคำเตือนว่า "ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ปลาทะเลหรือน้ำมันปลา" และ "ควรระวังในผู้ที่เลือดแข็งตัวช้า หรือผู้ที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือแอสไพริน" เป็นต้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น